Search
Close this search box.

|

Search
Close this search box.

|

มีอะไรใหม่ใน Simcenter 3D 2021.2?

Simcenter 3D เป็นแพลตฟอร์มแบบบูรณาการที่รวมเอาศาสตร์การจำลองที่มีความสำคัญต่อการทดสอบประสิทธิภาพในหลายๆด้าน เช่น ด้านโครงสร้าง, ด้านคลื่นเสียง, ด้านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, ด้านความร้อน, ด้านการไหล ฯลฯ Simcenter 3D ในแต่ละเวอร์ชั่นได้นำความสามารถใหม่ๆและมีการทำงานที่มีความแม่นยำากขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการจำลองและการวิเคราะห์   โดยพัฒนการของ Simcenter 3D 2021.2 ในเวอร์ชั่นนี้มุ่งเน้นไปที่การทำงานแบบ 4 มิติ: • การขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว• การจำลองความซับซ้อน• การสำรวจความเป็นไปได้• การทำงานแบบบูรณาการ ไปได้รวดเร็วกว่าด้วย Simcenter 3D Simcenter 3D ยังคงทำตามคำมั่นสัญญาเพื่อช่วยให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ผลงานได้มากขึ้น ด้วยการสร้างแบบจำลองที่รวดเร็วขึ้น ชุดเครื่องมือที่ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน และการซิงโครไนซ์อย่างรวดเร็วกับทีมงานออกแบบในส่วนต่างๆทั้งหมดภายในองค์กรของคุณ ต่อไปนี้คือไฮไลท์บางส่วนของสิ่งใหม่ๆที่เพิ่มมาใน Simcenter 3D 2021.2 ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น: Turbomachines: การปรับปรุงในส่วนของ Thermal Multiphysicsค่าประมาณของช่องระบายความร้อนด้วย 1D Immersed Ducts กราฟ BC Interdependency รูปแบบใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์ผลได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายกว่าเดิมด้วยการตั้งค่าขอบเขตการวิเคราะห์ (Boundary Condition) ที่มีความซับซ้อนได้อย่างถูกต้อง การสร้างแบบจำลองและคำนวณชั้นป้องกันความร้อนโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานในส่วนของPost-processing […]

ความท้าทาย 5 ข้อที่ส่งผลต่อการออกแบบและพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้า

ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมยานยนต์ของเราได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความท้าทายของการออกแบบและพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้า คุณกำลังมองหาซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอยู่รึเปล่า? มีโอกาสที่คุณจะมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าซักคัน แม้ว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจก็ตาม แต่ตลาดในอเมริกาเหนือ ยุโรป หรือจีนกลับมีความต้องการของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มากขึ้น และผู้ผลิตก็ต้องการตอบสนองความต้องการนี้ ทางเลือกของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (xEV) และยี่ห้อต่างๆนั้นมีทางเลือกมากกว่าที่เคย มีผู้ผลิตใหม่ๆที่เข้ามาแข่งขันกันเพื่อแย่งส่วนแบ่งของตลาดของธุรกิจนี้ อะไรคือความท้าทาย 5 อันดับแรกที่ส่งผลต่อการออกแบบและพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้า? การใช้พลังงานไฟฟ้าในยานพาหนะได้เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ ความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ที่น่าทึ่งของแบรนด์ Tesla แสดงให้เห็นว่าตลาด xEV เป็นตลาดที่ความฝันแห่งการขับขี่เกิดขึ้นได้ แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมนี้ การประสบความสำเร็จในตลาดที่มีการแข่งขันสูงนี้นอกจากการนำกลยุทธ์ทางด้านการค้าที่เหมาะสมมาใช้แล้ว ผู้ออกแบบและผลิตจะต้องทุ่มเท ใช้ความรู้ จินตนาการ ความร่วมมือ และอื่นๆอีกมากมาย ผู้เล่นในตลาดจะต้องมีความคิดใหม่ๆเกี่ยวกับวิธีการและกระบวนการทางวิศกรรมของตน และใช้นำนวัตกรรมที่ทำให้ไปสู่จุดหมายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นแนวโน้มการใช้พลังงานไฟฟ้าของรถยนต์จะเปลี่ยนไปอย่างไรในแง่ของวิศวกรรมศาสตร์? วิศวกรต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้างในการออกแบบและพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้า? เราได้ถามคำถามนี้กับคุณ Steven Dom ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจยานยนต์ที่บริษัท Siemens Digital Industries Software  และคุณ Warren Seeley ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจระบบส่งกำลังที่บริษัท Siemens Digital Industries Software เช่นกัน พวกเขาได้ระบุถึงความท้าทายด้านวิศวกรรม 5 อันดับแรกที่วิศวกรรมยานยนต์จำเป็นต้องแก้ไขในวันนี้ ความท้าทาย#1: การเลือกสถาปัตยกรรมของยานพาหนะที่ “ใช่” วิศกรจะแน่ใจได้อย่างไรว่าได้ออกแบบสิ่งที่ดีที่สุด […]

การออกแบบสนามกีฬาสมัยใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Topology Optimization

การแข่งขันโอลิมปิกคือการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งซึ่งจัดการแข่งขันขึ้นทุกๆ 4 ปี จะมีการรวบรวมนักกีฬาและประชาชนผู้เข้าชมหลายพันคนเข้าร่วมในมหกรรมงานนี้ โอกาสของประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทำให้พวกเขาได้แสดงออกทางศิลปะเกี่ยวกับวัฒนธรรมของพวกเขาเช่นเดียวกับการแสดงออกถึงนวัตกรรมของพวกเขาอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่นสนามโอลิมปิก 2008 ที่มีชื่อเสียงของประเทศจีน ซึ่งมีชื่อเล่นว่า “The Bird’s Nest” หรือ “รังนก” เนื่องจากโครงสร้างที่ใช้รองรับมีลักษณะคล้ายกิ่งไม้ที่ถักทอกันอย่างซับซ้อน ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสนามแห่งนี้ เพื่อเป็นปัจจัยในการสนับสนุนการประมูลเพื่อเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันโอลิมปิก ประเทศเจ้าภาพมักจะสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ซึ่งต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและแน่นอนว่าต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก สำหรับโครงการที่ยิ่งใหญ่อย่างการสร้างสนามกีฬาและระยะเวลาเตรียมการที่สั้นเช่นนี้ การออกแบบให้มีความเป็นไปได้ในการสร้าง ความสวยงาม และงบการก่อสร้างต้องอยู่ภายใต้งบประมาณจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง แม้จะมีข้อจำกัดด้านเวลาและงบประมาณ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจำลองหรือการทำซิมูเลชั่นมีความสำคัญและเป็นสิ่งที่จะช่วยให้สถาปนิกสามารถสร้างสนามกีฬาที่มีทั้งนวัตกรรมและโครงสร้างที่แข็งแรงได้ ในขณะที่ยังคงสามารถแสดงออกถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศให้อยู่ภายในการออกแบบนั้นๆ การใช้เทคโนโลยี “Topology Optimization” ทำให้นักออกแบบมีอิสระในการสร้างสรรค์การออกแบบโครงสร้างในรูปแบบต่างๆโดยไม่มีความเสี่ยงด้านปัญหาความแข็งแรงของโครงสร้างที่จะตามมา Altair Inspire จะช่วยเร่งกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน การเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้าง และการทำความเข้าใจนวัตกรรมของโครงสร้างต่างๆและการประกอบเข้าด้วยกัน เทคโนโลยี Topology Optimization ได้รับการพัฒนาโดยมีแนวคิดเดียวกับการพัฒนาความแข็งแรงของกระดูกในร่างกายมนุษย์ แนวทางของเทคโนโลยีนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากไบโอมิมิค เทคโนโลยี (Biomimic Technology) ซึ่งจะช่วยให้วิศวกรออกแบบสามารถเข้าใจถึงพฤติกรรมการรับแรงของโครงสร้างที่กำลังออกแบบและทำให้มั่นใจได้ว่าการออกแบบนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ด้านความแข็งแรงและความยืดหยุ่นโดยใช้วัสดุที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือการออกแบบที่สวยงามและมีความแข็งแรงสามารถใช้งานได้จริงตามที่ออกแบบไว้ อีกทั้งยังได้ประโยชน์จากการประหยัดต้นทุนทางด้านวัสดุอีกด้วย วิศวกรที่ Altair ใช้ Inspire ในการสร้างแนวคิดการออกแบบของสนามกีฬาแห่งนี้โดยใช้ Topology Optimization ซึ่งแนวทางนี้มียังมีอิทธิพลต่อโครงการสนามกีฬาโอลิมปิกในหลายๆโครงการที่ผ่านมา คุณช่วยแนะนำเราเกี่ยวกับกระบวนการออกแบบใหม่ได้หรือไม่?ด้วย […]

สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย ร่วมกับ ISID ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์

สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย ร่วมกับ ISID ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ (ไม่มีค่าใช้จ่าย) หัวข้อออกแบบแม่พิมพ์โดยใช้ CAD/CAE ช่วยลดต้นทุนได้อย่างไร!!  วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน 2564 เวลา 13.30-15.30 น.(ออนไลน์ Microsoft Teams)  วิทยากร: อาจารย์ ประพัทธิ์ คุ้มปลีวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม​ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล​ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับทีมงาน ISID ท่านสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาได้ที่ https://forms.gle/DZYusFtcrQ1baeqBA ทีมงานจะจัดส่งลิ้งสำหรับการสัมมนาให้กับผู้ที่ลงทะเบียนผ่านระบบเท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่โทรศัพท์ 02-632-9112

เชิญร่วมสัมมนาออนไลน์ ฟรี ในหัวข้อ ความท้าทายของอุตสหกรรมการปั๊มขึ้นรูปโลหะแบบแผ่นในปัจจุบัน

เรียน ท่านผู้สนใจ  บริษัท ไอเอสไอดี เซ้าท์อีส เอเชีย (ไทยแลนด์) จำกัด และ บริษัท ดาต้า ดีไซน์ จำกัด ขอเชิญท่านเข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ การนำ 3D Printer มาใช้ในการสร้าง Jig Fixture โดยการสัมมนาครั้งนี้จะจัดแบบออนไลน์ผ่านระบบ Microsoft Teams รายละเอียดงานสัมมนาวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนา: • เพื่อแนะนำวิธีการลดต้นทุนการผลิต Jig Fixture ด้วย 3D Printer• เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีในการผลิตด้วย 3D Printer ผู้ร่วมงาน: วิศวกรและผู้จัดการในงานอุตสาหกรรมที่สร้างเครื่องมือ Tooling, Jig, Fixture ใช้ในโรงงาน กำหนดการวันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2564 เวลา หัวข้อ ผู้บรรยาย หน่วยงาน 14:00 – 14:05 ภาพรวมและวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนา เบญจมาส สุขสิริพงศ์ ISID 14:05 […]

IIoT Manufacturing Platform: MindSphere หรือ Thingworx ดี? ISID มีคำตอบ

ท่ามกลางยุค Digital Transformation ที่โลกหมุนเปลี่ยนอย่างรวดเร็วนั้น ทุกสรรพสิ่งกำลังถูกเชื่อมต่อด้วย IoT : Internet of Things ซึ่งรวมถึงภาคอุตสาหกรรมที่มิอาจหลบหลีกการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ได้ แต่ด้วยความคาดหวังต่อผลลัพธ์ทางธุรกิจประกอบกับความซับซ้อนของเครือข่ายการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ทำให้การเปลี่ยนผ่านนี้มีแรงกดดันยิ่งขึ้น ผู้เชี่ยวชาญที่มองเห็นและเข้าใจโจทย์ในแต่ละอุตสาหกรรมและสภาพแวดล้อมจะเป็นทางลัดนำสู่การผลิตสมัยใหม่ตามแนวทางโรงงานอัจฉริยะ Smart Factory  บริษัท ISID ผู้นำด้าน Manufacturing Solutions ที่มีประสบการณ์การพัฒนาระบบร่วมกับผู้ผลิตชั้นนำในประเทศญี่ปุ่น จึงมีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้านกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และให้บริการทางวิศวกรรมระบบที่มุ่งเน้นการสร้างและใช้ประโยชน์จากโซลูชันโรงงานอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตทั้งหมด รองรับการดำเนินงานที่หลากหลายในอุตสาหกรรมการผลิต ISID IIoT Manufacturing Platform for Digital Transformationสำหรับแพลตฟอร์ม IoT ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งก็คือ IIoT : Industrial IoT นั้น บริษัท ISID ได้คัดสองผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด สำหรับ Manufacturing Solutions เพื่อก้าวสู่โรงงานอัจฉริยะ Smart Factory มาแนะนำคือ Siemens MindSphere และ PTC […]

Markforged

เครื่องพิมพ์ 3D ประสิทธิภาพสูง ที่รองรับคาร์บอนไฟเบอร์ และโลหะ การผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ 3D โดยตรงของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่มีความแข็งแรงเชิงกลที่ดีเยี่ยม และทนต่อความร้อน ในปัจจุบันที่โลกของอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว การสร้างตัวผลิตภัณฑ์ หรือเครื่องมือที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ จะเข้ามาช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการผลิตในกับงานอุตสาหกรรม Markforged ขอเสนอนวัตกรรมในกระบวนการผลิตด้วยเครื่องพิมพ์ 3D สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมโดย Markforged ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2556 โดยสำนักงานใหญ่อยู่ที่แมสซาชูเซตส์ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผู้ก่อตั้งคือ CEO คนปัจจุบัน Greg Mark ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ 3 มิติรายแรก ที่นำไฟเบอร์แบบยาวมาใช้งานจริงนอกเหนือจากพื้นที่ต้นแบบแล้ว ยังได้รับการแนะนำอย่างกว้างขวางในด้านเครื่องมือจิ๊กและผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย คุณสมบัติของแพลตฟอร์มรวม Markforged Markforged เครื่องพิมพ์คาร์บอนไฟเบอร์คอมโพสิตตัวแรกของโลก สามารถสร้างแบบจำลองได้ด้วยวัสดุถึง 11 ชนิด รวมถึง ONYX, คาร์บอนไฟเบอร์ต่อเนื่อง และเหล็กกล้าไร้สนิม คุณสามารถที่จะเลือกวัสดุที่เหมาะสมต่อความต้องการในการใช้งานของคุณ ทั้งสำหรับ ความทนทาน ความเบา ความแข็ง และความเหนียวทาน • เร่งการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ จากวัสดุที่มีความแข็งแรง และต้านทานความร้อนได้ดีเยี่ยม• เข้ากันได้กับคาร์บอนไฟเบอร์/ใยแก้ว/เคฟร่า/ผงโลหะ•ตระหนักถึงประสิทธิภาพของค่าใช้จ่ายสูงสุด […]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save