Search
Close this search box.

|

Search
Close this search box.

|

ความท้าทาย 5 ข้อที่ส่งผลต่อการออกแบบและพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้า

ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมยานยนต์ของเราได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความท้าทายของการออกแบบและพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้า คุณกำลังมองหาซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอยู่รึเปล่า? มีโอกาสที่คุณจะมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าซักคัน แม้ว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจก็ตาม แต่ตลาดในอเมริกาเหนือ ยุโรป หรือจีนกลับมีความต้องการของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มากขึ้น และผู้ผลิตก็ต้องการตอบสนองความต้องการนี้ ทางเลือกของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (xEV) และยี่ห้อต่างๆนั้นมีทางเลือกมากกว่าที่เคย มีผู้ผลิตใหม่ๆที่เข้ามาแข่งขันกันเพื่อแย่งส่วนแบ่งของตลาดของธุรกิจนี้ อะไรคือความท้าทาย 5 อันดับแรกที่ส่งผลต่อการออกแบบและพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้า? การใช้พลังงานไฟฟ้าในยานพาหนะได้เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ ความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ที่น่าทึ่งของแบรนด์ Tesla แสดงให้เห็นว่าตลาด xEV เป็นตลาดที่ความฝันแห่งการขับขี่เกิดขึ้นได้ แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมนี้ การประสบความสำเร็จในตลาดที่มีการแข่งขันสูงนี้นอกจากการนำกลยุทธ์ทางด้านการค้าที่เหมาะสมมาใช้แล้ว ผู้ออกแบบและผลิตจะต้องทุ่มเท ใช้ความรู้ จินตนาการ ความร่วมมือ และอื่นๆอีกมากมาย ผู้เล่นในตลาดจะต้องมีความคิดใหม่ๆเกี่ยวกับวิธีการและกระบวนการทางวิศกรรมของตน และใช้นำนวัตกรรมที่ทำให้ไปสู่จุดหมายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นแนวโน้มการใช้พลังงานไฟฟ้าของรถยนต์จะเปลี่ยนไปอย่างไรในแง่ของวิศวกรรมศาสตร์? วิศวกรต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้างในการออกแบบและพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้า? เราได้ถามคำถามนี้กับคุณ Steven Dom ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจยานยนต์ที่บริษัท Siemens Digital Industries Software  และคุณ Warren Seeley ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจระบบส่งกำลังที่บริษัท Siemens Digital Industries Software เช่นกัน พวกเขาได้ระบุถึงความท้าทายด้านวิศวกรรม 5 อันดับแรกที่วิศวกรรมยานยนต์จำเป็นต้องแก้ไขในวันนี้ ความท้าทาย#1: การเลือกสถาปัตยกรรมของยานพาหนะที่ “ใช่” วิศกรจะแน่ใจได้อย่างไรว่าได้ออกแบบสิ่งที่ดีที่สุด […]

การออกแบบสนามกีฬาสมัยใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Topology Optimization

การแข่งขันโอลิมปิกคือการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งซึ่งจัดการแข่งขันขึ้นทุกๆ 4 ปี จะมีการรวบรวมนักกีฬาและประชาชนผู้เข้าชมหลายพันคนเข้าร่วมในมหกรรมงานนี้ โอกาสของประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทำให้พวกเขาได้แสดงออกทางศิลปะเกี่ยวกับวัฒนธรรมของพวกเขาเช่นเดียวกับการแสดงออกถึงนวัตกรรมของพวกเขาอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่นสนามโอลิมปิก 2008 ที่มีชื่อเสียงของประเทศจีน ซึ่งมีชื่อเล่นว่า “The Bird’s Nest” หรือ “รังนก” เนื่องจากโครงสร้างที่ใช้รองรับมีลักษณะคล้ายกิ่งไม้ที่ถักทอกันอย่างซับซ้อน ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสนามแห่งนี้ เพื่อเป็นปัจจัยในการสนับสนุนการประมูลเพื่อเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันโอลิมปิก ประเทศเจ้าภาพมักจะสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ซึ่งต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและแน่นอนว่าต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก สำหรับโครงการที่ยิ่งใหญ่อย่างการสร้างสนามกีฬาและระยะเวลาเตรียมการที่สั้นเช่นนี้ การออกแบบให้มีความเป็นไปได้ในการสร้าง ความสวยงาม และงบการก่อสร้างต้องอยู่ภายใต้งบประมาณจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง แม้จะมีข้อจำกัดด้านเวลาและงบประมาณ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจำลองหรือการทำซิมูเลชั่นมีความสำคัญและเป็นสิ่งที่จะช่วยให้สถาปนิกสามารถสร้างสนามกีฬาที่มีทั้งนวัตกรรมและโครงสร้างที่แข็งแรงได้ ในขณะที่ยังคงสามารถแสดงออกถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศให้อยู่ภายในการออกแบบนั้นๆ การใช้เทคโนโลยี “Topology Optimization” ทำให้นักออกแบบมีอิสระในการสร้างสรรค์การออกแบบโครงสร้างในรูปแบบต่างๆโดยไม่มีความเสี่ยงด้านปัญหาความแข็งแรงของโครงสร้างที่จะตามมา Altair Inspire จะช่วยเร่งกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน การเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้าง และการทำความเข้าใจนวัตกรรมของโครงสร้างต่างๆและการประกอบเข้าด้วยกัน เทคโนโลยี Topology Optimization ได้รับการพัฒนาโดยมีแนวคิดเดียวกับการพัฒนาความแข็งแรงของกระดูกในร่างกายมนุษย์ แนวทางของเทคโนโลยีนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากไบโอมิมิค เทคโนโลยี (Biomimic Technology) ซึ่งจะช่วยให้วิศวกรออกแบบสามารถเข้าใจถึงพฤติกรรมการรับแรงของโครงสร้างที่กำลังออกแบบและทำให้มั่นใจได้ว่าการออกแบบนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ด้านความแข็งแรงและความยืดหยุ่นโดยใช้วัสดุที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือการออกแบบที่สวยงามและมีความแข็งแรงสามารถใช้งานได้จริงตามที่ออกแบบไว้ อีกทั้งยังได้ประโยชน์จากการประหยัดต้นทุนทางด้านวัสดุอีกด้วย วิศวกรที่ Altair ใช้ Inspire ในการสร้างแนวคิดการออกแบบของสนามกีฬาแห่งนี้โดยใช้ Topology Optimization ซึ่งแนวทางนี้มียังมีอิทธิพลต่อโครงการสนามกีฬาโอลิมปิกในหลายๆโครงการที่ผ่านมา คุณช่วยแนะนำเราเกี่ยวกับกระบวนการออกแบบใหม่ได้หรือไม่?ด้วย […]

We use cookies to improve performance and enhance your experience on our website. You can learn more details in our Privacy Policy and manage your privacy settings by clicking Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by enabling/disabling cookies in each category according to your preferences, except for necessary cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

MEET THE EXPERT

Contact our experts for more information about our solutions.